Manchester City แมนเชสเตอร์ซิตี้
สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ (อังกฤษ: Manchester City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองแมนเชสเตอร์ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ในชื่อทีม เซนต์มากส์ (เวสต์กอร์ตัน) โดยมี แอนนา คอนเนลล์ และ ผู้ดูแลโบสถ์ เซนต์มากส์ อีก 2 คน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง
แต่เดิม ทีมนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลกอร์ตัน ทางตะวันออก ของเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สนามใหม่ ในย่านไฮด์ โรด ของเมืองอาร์ดวิก ใกล้กับแมนเชสเตอร์ และได้เปลี่ยนชื่อทีมไปเป็น “อาร์ดวิกเอเอฟซี” ตามสถานที่ตั้ง จากนั้น อาร์ดวิก ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกอังกฤษ ในฐานะสมาชิกก่อตั้ง ในระดับดิวิชัน 2 เมื่อปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) กระทั่งถึง ฤดูกาล 2436 – 2437 (ค.ศ. 1893 – 1894) ทีมมีปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก จนต้องมีการรื้อระบบการบริหารทีมครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อเป็น “แมนเชสเตอร์ซิตีฟุตบอลคลับ” จนถึงปัจจุบัน ทีมได้เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ ด้วยการเป็นแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชัน 2 ของอังกฤษ เป็นแชมป์แรก
เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ในดิวิชัน 1 ลีกสูงสุดของอังกฤษ (ในเวลานั้น) ก่อนจะมาได้แชมป์เอฟเอคัพ หลังเฉือนชนะ โบลตัน 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ขณะที่ผลงานกำลังไปได้ดี แต่กลับเกิดเพลิงไหม้ สนาม “ไฮด์โรด” ในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) อัฒจันทร์หลักเสียหายอย่างมาก จนทำให้ต้องย้ายไปใช้ สนาม “เมนโรด” เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ ในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923)
ที่ตั้งสนามของสโมสรในฐานะเจ้าบ้าน
เมนโรด (อังกฤษ: Maine Road) เป็นสนามกีฬาฟุตบอลในย่านมอสไซด์ เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เคยเป็นสนามกีฬาเหย้าของ Manchester City ที่สโมสรได้ใช้ตั้งแต่ปี 1923 ถึง 2003 สนามเคยใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบก่อนรองชนะเลิศ ชาริตีชีลด์ นัดตัดสินลีกคัพและเพราะสนามมีความจุสนามมาก จึงได้รับฉายาอีกชื่อว่า เวมบลีย์ทางตอน และได้เปลี่ยนมาใช้สนามใหม่ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: City of Manchester Stadium) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาอัลติฮัด(อังกฤษ: Etihad Stadium) ด้วยเหตุผลตามชื่อผู้สนับสนุน หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า คอมส์ (CoMS) หรือ อีสต์แลนส์(Eastlands)
แผนการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ในเมืองแมนเชสเตอร์เริ่มมีขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เมืองประมูลในการเป็นผู้จัดการโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 สภาเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ได้เสนอการประมูลแบบสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 สภาเทศบาลฯ ได้เปิดประมูลรับแบบของสนามกีฬา 80,000 ที่นั่ง อีกแบบ[12] โดยได้บริษัทอารัป เป็นผู้ดูแลงาน บริษัทได้ช่วยเลือกอีสต์แลนด์เป็นสถานที่ก่อสร้างด้วย
ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 กำหนดให้ซิดนีย์เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในปีต่อมาแมนเชสเตอร์ได้เสนอแบบเดียวให้กับโครงการปรับปรุงเมืองในช่วงสหัสวรรษ มิลเลนเนียมคอมมิสชัน โดยเสนอชื่อเป็น “มิลเลนเนียมสเตเดียม” แต่โครงการนี้ก็ตกไป ภายนอกสนาม สร้างความโดดเด่นโดยเสากระโดง 12 ต้นที่พยุงหลังขาของสนามที่มีรูปทรงเหมือนห่วงยาง โดยใช้ระบบสายเคเบิล ซึ่งแตกต่างจากสนามกีฬาอื่นที่มักใช้ระบบเสา-คาน รับน้ำหนัก
โดยสายเคเบิลได้ยึดติดเข้ากับเสากระโดง 12 ต้น รอบทั้งสนาม และมีคานค้ำหลังคาและแป รับหลังคาอื่น นอกจากนั้นยังมีเสากระโดงยังเพิ่มความสวยงาม ซึ่งมีความสูงสูงสุดที่ 75 เมตร (246 ฟุต) เข้าถึงที่นั่งชั้นบนโดยมีทางลาดรูปร่างกลม ที่มีส่วนบนสุดเป็นรูปทรงกรวย มีรูปร่างคล้ายหอคอย โดยมีเสากระโดง 8 ต้น (จาก 12 ต้น) ที่รับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา ปัจจุบันความจุสนามอยู่ที่ 47,805 – ฟุตบอลภายในประเทศ (2011–) 47,726 – ฟุตบอลจัดโดยยูฟ่า 60,000 – คอนเสิร์ต และ มวย 38,000 – กีฬาเครือจักรภพ 2002
ทำเนียบโค้ชและผู้เล่นสำคัญในอตีดจนถึงปัจจุบัน
ทีมได้เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ ด้วยการเป็นแชมป์ ฟุตบอลลีกดิวิชัน 2 ของอังกฤษ เป็นแชมป์แรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ในดิวิชัน 1 ลีกสูงสุดของอังกฤษ (ในเวลานั้น) ก่อนจะมาได้แชมป์เอฟเอคัพ หลังเฉือนชนะ โบลตัน 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904)
ในยุคที่นับว่ารุ่งเรืองที่สุด คือ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2500เรื่อยมา เนื่องจากทีมชุดนี้ สามารถขึ้นไปถึงตำแหน่งแชมป์ได้หลายรายการ โดยมี โจ เมอร์เซอร์ เป็นผู้จัดการทีม และ มัลคอล์ม อัลลิสสัน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม รวมถึง มียอดนักเตะชื่อดังมากมาย อาทิ โคลิน เบลล์
แต่หลังจากเป็นแชมป์ลีกคัพ ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) พวกเขาก็ไม่ได้ขึ้นถึงตำแหน่งแชมป์ ในรายการสำคัญอีกเลย และยังมีผลงานไม่ค่อยดีนักมาตลอด โดยเฉพาะ ในช่วงปี พ.ศ. 2530 พวกเขาต้องตกชั้น 2 ครั้ง ในรอบ 3 ปี จนลงไปอยู่ใน ดิวิชัน 3 เดิม อยู่ถึง 1 ปี อย่างไรก็ตาม ทีมก็สามารถกลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุด และยังคงรักษาตัวไว้ได้อย่างมั่นคง แม้ผลงานของทีม มักอยู่ในช่วงกลางตาราง ค่อนไปทางท้ายก็ตาม โดยจบ ฤดูกาล 2006-2007 ในอันดับที่ 14 ของพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล 2007-2008 ที่ผ่านมา หลังจากเพียร์ซถูกปลดจากตำแหน่งผู้จัดการทีม สเวน-เยอราน เอริกซอนก็เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทน ภายหลังลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษครบ 1 ปี ซิตีชนะใน 3 นัดแรกของฤดูกาล ซึ่งรวมถึงดาร์บี้แมตช์กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และไม่เสียประตูเลยสักประตูเดียว และเมื่อจบฤดูกาล อีริคส์สันพาทีมไปแข่งนัดกระชับมิตร ที่ประเทศไทย และเกาะฮ่องกงของจีน เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
จากนั้นในวันที่ 2 มิถุนายน ดร.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของและประธานสโมสร ปลดอีริคส์สันออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม นำมาซึ่งการคัดค้านอย่างรวดเร็วจากแฟนๆ ของซิตี และมาร์ค ฮิวจ์ส ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแบล็คเบิร์น โรเวอร์ส เข้ามารับตำแหน่งแทน ในสองวันถัดมา ฮิวจ์สเข้ามาร่วมงานกับสโมสร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน โดยเซ็นสัญญาคุมทีมทั้งหมด 3 ปี และตามด้วยการเข้ามาของผู้เล่นอย่าง โช, ทาล เบน-ฮาอิม, แวงซอง ก็องปานี, ฌอน ไรท์-ฟิลลิปส์ และพาโบล ซาบาเลตา
ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2008 กลุ่มแนวร่วมการลงทุนแห่งอาบูดาบี (Abu Dhabi United investment group – ADUG) เข้าซื้อกิจการสโมสรจาก ดร.ทักษิณ ในวันสุดท้ายของกำหนดเวลาซื้อขายนักฟุตบอล ตามด้วยการเปิดดีลครั้งใหญ่ แสดงศักยภาพทางการเงิน โดยทำการเจรจาซื้อตัว ผู้เล่นชื่อดังจากหลายสโมสร ด้วยค่าตัวประมาณคนละ 30 ล้านปอนด์ขึ้นไป นับเป็นการเปิดตัวด้วยการตลาด ที่สร้างความฮือฮาอย่างมาก
ในจำนวนนั้น มีนักเตะอย่างดิมิตาร์ เบอร์บาตอฟ จากสเปอร์ส หรือโรบินญู จากเรอัล มาดริด รวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม การเปิดการเจรจากับสเปอร์ทำให้ต้องเสียนักเตะอย่าง ชอลูกา ออกไปจากทีมและ ดิมิตาร์ เบอร์บาตอฟ ก็ตัดสินใจไปอยู่ร่วมกับทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ส่วนทางโรบินญูนั้น ได้มีปัญหากับต้นสังกัดเดิมคือเรอัล มาดริด และตัดสินใจย้ายมาแมนเชสเตอร์ซิตีไม่ยาก เพราะมีเพื่อนชาวบราซิลคนสนิทอย่าง เอลาโน อยู่ในทีมด้วยนั่นเอง
โดยก่อนฤดูกาล 2009/2010 จะเริ่มต้นทีมสามรถเซ็นสัญญานักเตะอย่างเอ็มมานูเอล อเดบายอร์ และโคโล ตูเร่ จากอาร์เซนอล, คาร์ลอส เตเวซ, ซิลวิญญู, โรเก ซานตาครูซ, แกเร็ท แบร์รี และโจลีออน เลสค็อต ทำให้ทีมเริ่มต้นได้อย่างยอดเยี่ยมก่อนที่ฟอร์มจะเริ่มตกต่ำลง เนื่องจากทำสถิติเสมอตลอด 8 นัด ในที่สุดสโมสรจึงมีมติปลดมาร์ค ฮิวส์ ออกจากตำแหน่งเนื่องจากทีมไม่มีแววได้ติดท็อปโฟว์ทั้งที่ใช้เงินไปร่วม 200 ล้านปอนด์ตลอดการคุมทีม และเป็นโรแบร์โต มันชินี อดีตผู้จัดการทีมอินเตอร์ มิลาน เข้ามารับตำแหน่งแทน
ฤดูกาล 2010/2011 แมนซิตียังไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ ทำได้แค่อยู่อันดับ 3 ห่างจากแมนยูไนเต็ด มากถึง9คะแนน แม้จะมีการเสริมทัพมาก อาทิ ยาย่า ตูเร่, ดาบิด ซิลบา, มารีโอ บาโลเตลลี ซึ่งตอนนี้ได้เป็นกำลังหลักของทีม
ฤดูกาล 2011/2012 แมนซิตีสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ
ยุคปัจจุบัน 2017-2018 ภายใต้การคุมทีม เปป กวาร์ดีโอลา การเข้ามาของกุนซือ ชาวเสปนที่เคยเป้นผู้เล่นกองกลางในยุคโยฮัน ครัฟฟ์ เขามีความสามารถมากทั้งการวางแผนการเล่นทักษะฟุตบอล จิตวิทยาในการปลุกกำลังใจ เปป ประสบความสำเร็จอย่างมากและเขากำลังจะพาทีมไปแข่ง ยูฟ่าแชมป์เปี่ยนลีก ในฤดูกาล 2018-2019 ซึ่งอาจจะคว้าแชมป์ก็เป็นได้
- ผู้รักษาประตู : เคลาดิโอ บราโว่, เอแดร์สัน
- กองหลัง : เบนฌาแม็ง เมนดี้, อายเมริค ลาปอร์เต้, นิโกลัส โอตาเมนดี้, จอห์น สโตนส์, แว็งซ็องต์ ก็อมปานี, ไคล์ วอล์คเกอร์, ดานิโล่
- กลองกลาง : แฟร์นานดินโญ่, ฟิล โฟเด้น, โอเล็กซานเดอร์ ซินเชนโก้, ยาย่า ตูเร่, ฟาเบียน เดลฟ์, อิลคาย กุนโดกัน, บราฮิม ดิอาซ, เควิน เดอ บรอยน์, ดาบิด ซิลบา
- กองหน้า : เลรอย ซาเน่, ราฮีม สเตอร์ลิงล, แบร์นาร์โด้ ซิลวา, กาเบรียล เฆซุส, เซร์คิโอ อเกวโร่
ผลงานทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
- ดิวิชันหนึ่ง / พรีเมียร์ลีก (ลีกชั้นที่ 1)
ชนะเลิศ 2479-2480, 2510-2511, 2554-2555, 2556-2557 2560-2561
รองชนะเลิศ 2446-2447, 2463-2464, 2519-2520, 2555-2556, 2557-2558 - ดิวิชันสอง / ดิวิชันหนึ่ง (ลีกชั้นที่ 2)
ชนะเลิศ 2441-2442, 2445-2446, 2452-2453, 2470-2471, 2489-2490, 2508-2509, 2544-2545 (สถิติทีมชนะเลิศมากที่สุด 7 สมัย)
รองชนะเลิศ 2438-2439, 2493-2494, 2531-2532, 2542-2543 - ดิวิชันสอง (ลีกชั้นที่ 3)
ชนะเลิศ เพลย์ออฟ 2541-2542 - เอฟเอ คัพ
ชนะเลิศ 2447, 2477, 2499, 2512, 2554
รองชนะเลิศ 2469, 2476, 2498, 2524, 2556 - ฟุตบอลลีกคัพ
ชนะเลิศ 2513, 2519, 2557 , 2558, 2561
รองชนะเลิศ 2517 - ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ
ชนะเลิศ 2513 - เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ (เดิมคือแชริตีชีลด์)
ชนะเลิศ 2480, 2511, 2515, 2555
รองชนะเลิศ 2477, 2499, 2512, 2516 - ปัจจุบันฤดูกาลปี 2017-2018 ภายใต้การคุมทีมของ เปป กวาร์ดีโอลา โค้ชพเนจรไปคุมทีมใหญ่ๆมากแล้วมากมาย บาเซโลน่า บาเยิร์น มิวนิค เปป กวาร์ดีโอลา เข้าคุมทีมแมนซิตี้ พาทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีก ได้ไปแข่งยูฟ่าแชมป์เปี่ยนลีกส์ ในฤดูกาล 2018-2019
# | ชื่อทีม | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีง | ผลต่าง | คะแนน |
1 | แมนเชสเตอร์ ซิตี้ | 38 | 32 | 4 | 2 | 106 | 27 | 79 | 100 |
2 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | 38 | 25 | 6 | 7 | 68 | 28 | 40 | 81 |
3 | ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ | 38 | 23 | 8 | 7 | 74 | 36 | 38 | 77 |
สถิติทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
- จำนวนประตูที่ยิงได้มากสุดในฤดูกาล : 108 ประตูในดิวิชั่นสอง ค.ศ.1926-27 (พ.ศ.2469-70) จาก 42 เกมการแข่งขัน และดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ.2001-02 (พ.ศ.2544-45) จาก 46 เกมการแข่งขัน
- ผู้เล่นที่ยิงประตูลีกได้มากสุดในหนึ่งฤดูกาล : 38 ประตูโดยทอมมี่ จอห์นสัน ในดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ. 1928-29 (พ.ศ.2471-72)
- แต้มที่ได้มากสุด (ทีมที่ชนะได้ 2 แต้ม) : 62 แต้มในดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ. 1946-47 (พ.ศ.2489-90)
- แต้มที่ได้มากสุด (ทีมที่ชนะได้ 3 แต้ม) : 99 แต้มในดิวิชั่นหนึ่ง ค.ศ.2001-02 (พ.ศ.2544-55)
- นักเตะที่ได้ร่วมทีมชาติมากครั้งที่สุด : โคลิน เบลล์ (อังกฤษ) 48 ครั้ง
- ทำแต้มทิ้งอันดับสองมากสุด สถิติสูงสุดเดิม : 18 แต้ม ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ฤดูกาล 1999/00)