เขียนโดย Abha Vardhan
การเล่นไพ่เป็นหนึ่งในงานอดิเรากที่ได้รับความนิยมมากทีสุดในอินเดีย เราจะพบเห็นการจับกลุ่มเล่นไพ่ได้ในร้านกาแฟหรือริมถนนข้างทาง ซึ่งเริ่มมาจากกษัตริย์ในสมัยโบราณมักจะใช้เวลาเล่นไพ่ในช่วงยามเย็น
มีการกล่าวหลายทฤษฏีถึงว่า Ganjifa มาจากไหนกันแน่ ซึ่งไพ่นี้เรียกได้หลายแบบเช่น " Gnjaph หรือ Ganjapa " ซึ่งเป็นคำที่เชื่อมโยงกันระหว่างอินเดียและเปอร์เซีย คำว่า Ganji แปลว่า สมบัติ นำมารวมกับสำนวนจีนว่า chi pai ( ไพ่กระดาษ ) จนได้เป็น Ganjifa คำในภาษาเปอร์เซีย แปลว่า การเล่นไพ่
การปรากฏขึ้นของ Ganjifa ต้องย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของ Babur ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล เกมการเล่นไพ่นี้เป็นที่่รู้จักกันแพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยไพ่จะทำจากงานช้างหรือกระดองเต่า และตกแต่งด้วยอัญมณีล้ำค่า ต่อมาเกมไพ่นี้ได้แพร่ออกมาสู่คนทั่วไป และในปัจจุบันสามารถพบได้ในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงตะวันออกกลางและเอเซียตะวันตก
ประวัติความเป็นมาของ Ganjifa
มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามันเริ่มเป็นที่รู้จักในอินเดียในช่วงสมัยจักรพรรดิโมกุล เมื่อต้นศตวรรษที่ 16 และค่อยๆเผยแพร่ไปยังภาคต่างๆของประเทศอินเดีย
รูปแบบดั้งเดิมของเกมไพ่นี้เรียกว่า Moghul Ganjifa สิ่งที่น่าสนใจคือเกมไพ่นี้จะมีรูปแบบการเล่นที่ต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของศิลปะและประเพณีของศาสนาฮินดู
หน้าไพ่แบบดั้งเดิมนั้นจะถูกวาดขึ้นด้วยมือของศิลปินและมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกันอีกทั้งยังเรียกต่างกันอีกด้วย เช่น ไพ่ Dashavatara Ganjifa ถูกสร้างขึ้นในปี 1950 ไพ่สำรับนี้จะมีสิบชุด แต่ละชุดจะมีไพ่สิบสองใบ วาดตามความเชื่อร่างอวตารของพระวิษณุ
แต่ไพ่นี้ก็ยังมีหลายชุด ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นและศิลปินผู้วาด ยกตัวอย่างเช่น Sawantwadi Gamjifa, Kashmir Ganjifa, Mysore Ganjifa, Navadurga Ganjifa, Nepal Ganjifa และ Gujarat Ganjifa
ไพ่ Ganjifa ถูกสร้างขึ้นอย่างไร
แต่ดั้งเดิม ไพ่ชนิดนี้ทำจากผ้าที่มีลวดลายที่แสดงถึงมหาภารตะและรามเกียรติ์ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ สัญลักษณ์ เครื่องแต่งการ และรูปร่างของไพ่ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นทรงสี่เหลี่ยม แต่ปัจจุบันก็มีการทำไพ่ออกมาในรูปแบบทรงกลม ซึ่งในบางพื้นที่พบว่ารูปแบบทรงกลมได้รับความนิยมมากกว่า
ไพ่ดั้งเดิมทั้งหมดในสมัยนั้นจะเป็นงานทำมือที่ออกแบบตกแต่งลงสีอย่างปราณีตพิถีพิถัน โดยลักษณะเด่นของไพ่จะต้องมีสีพื้นหลังที่ฉูดฉาด ดูขลังและงดงาม
ในสมัยก่อน กษัตริย์จะจ้างช่างที่มีความชำนาญสูงมาออกแบบทำไพ่ ไพ่ต้องมีความหนาโดยใช้วิธีทากาวลงบนผ้าที่วางซ้อนกันหลายๆชั้น ขอบไพ่ทาด้วยสีดำเพื่อให้สีพื้นหลังของไพ่ดูโดดเด่นออกมา
เทคนิคการออกแบบขึ้นอยู่กับความชำนาญของศิลปินแต่ละคน ไพ่ที่สร้างขึ้นเพื่อชนชั้นเศรษฐีก็จะใช้วัสดุราคาแพง เช่นงาช้าง กระดองเต่า แผ่นทองเหลืองแกะสลัก หอยมุก ครั่ง และตกแต่งด้วยหินมีค่า โลหะ หรืออัญมณี
ไพ่สำหรับคนธรรมดานั้นก็จะทำจากลังกระดาษ ผ้าแข็งๆ ใบตาล เกล็ดปลา หรือ ไม้ ทาด้วยสีที่ได้จากธรรมชาติหรือแร่ธาตุที่ทำให้เกิดสีได้ ช่างจะทำสีเหล่านี้ขึ้นมาโดยการบดและผสมสีด้วยตัวเอง ใช้พู่กันเนื้อละเอียดเช่นแปรงขนกระรอกในการวาด
ช่างจากโอริสสามักจะทำออกมาเป็นงานที่สื่อถึงเรื่องราวเกี่ยวกับฮินดู ใส่จินตนาการลงไปและวาดออกมาในรูปแบบของสัตว์ในป่าหิมพานต์ ตามตำนานที่ว่าด้วยพระกฤษณะทดสอบความจงรักภักดีของอจุนะ
ไพ่จะมีภาพของ 12 ชนิดลงบนไพ่กลมพื้นหลังสีสด จำนวนแต้มบนไพ่จะมีตั้งแต่หนึ่งถึงสิบ มีไพ่มหาดเล็ก อัศวิน และกษัตริย์ เรื่องราวที่วาดและการตกแต่งก็ขึ้นอยู่กับศิลปินแต่ละคน
ตัวไพ่ Ganjifa
จากหลักฐานที่รวบรวมได้ในศตวรรษที่ 17 พบว่าในหนึ่งสำรับจะมีไพ่ 96 ใบ โดยจะแยกออกไปเป็นแปดลักษณะหรือแปดสี แต่ในปัจจุบันไพ่หนึ่งสำรับจะมีไพ่ 20 ใบ แบ่งออกได้เป็น 5 สีหรือ 5 ลักษณะ
5 ลักษณะมีดังนี้
- สิงโตและดวงอาทิตย์
- กษัตริย์
- หญิง
- ทหาร
- นักเต้น ( มีค่าน้อย)
ด้านหลังของไพ่จะทาด้วยสีเข้มและมักจะเป็นสีดำ หน้าไพ่แต่ละใบก็จะมีสีต่างกัน เช่น ไพ่สิงโตและพระอาทิตย์เป็นสีดำ ไพ่นักเต้น (แต้มต่ำ)จะเป็นสีเขียว ไพ่หญิงเป็นสีแดง ไพ่ราชาเป็นสีขาว และไพ่ทหารเป็นสีทอง
ภาพประกอบบนไพ่ต่ำมักมีความหลากหลายออกแนวลามกอนาจาร ไพ่กษัตริย์จะเป็นรูปกษัตริย์นั่งบนบัลลังก์ ไพ่เสียงเบสแสดงถึงนักเต้นชาวเปอร์เซีย สิงโตและดวงอาทิตย์มักจะปรากฏอยู่บนเสื้อคลุมของชาวเปอร์เซีย ไพ่ทหารจะมีรูปปืนไรเฟิลบนไหล่ ไพ่ผู้หญิงก็จะเป็นรูปหญิงสาวยุโรปใส่ชุดพื้นเมือง
การเล่นด้วยไพ่ Ganjifa
มันเป็นเกมที่ต้องใช้กลอุบายในการเล่น ดังนั้นมันเหมาะที่จะเล่น 3 คน มากกว่าที่จะเล่นเป็นทีม โดยเป้าหมายหลักของเกมคือการได้ไพ่ใบสูงสุดมาครอบครองโดยใช้เล่ห์ แต่ในบางสำรับสามารถเล่น 4 คนก็ได้ หรือจับคู่แบบทีมละสองคนก็ได้
Moghul Ganjifa มักจะเล่นโดยใช้ไพ่ 96 ใบ ชุดที่แข็งแกร่งคือ Ghulam, Taj, Samsher และsafed ชุดที่อ่อนแอได้แก่ Quimash, Surkh,Chang และ Barat ซึ่งต่างจาก Dashavatara Ganjifa ที่ต้องใช้ไพ่ 120 หรือ 144 ใบในการเล่น กติกาการเล่นของทั้งสองอย่างก็จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ Dashavatara Ganjifa จะแสดงถึงสิบร่างอวตารของพระวิษณุ
แจกไพ่อย่างไร
เกมจะเริ่มต้นด้วยการแจกไพ่ทวนเข็มนาฬิกา แจกทีเป็นชุดๆ ชุดละ 4 ใบ ไม่ใช่ทีละใบ และในบางครั้งก็จะแจกไพ่ชุดแรกและชุดสุดท้ายโดสยการหงายไพ่ขึ้น
ก่อนเริ่มเกมผู้เล่นต้องเรียงไพ่เข้ากลึ่มจัดหมวดหมู่ตามลำดับก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการเล่น และผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะเรียงไพ่แต้มต่ำไว้ด้านหลังและมีไพ่แต้มสูงอยู่ในมือ
เล่นอย่างไร
ปูพื้นด้วยผ้าขาว สับไพ่และวางไพ่คว่ำหน้า ผุ้เล่นจะตัดไพ่และแจกไพ่ให้ทุกคนจำนวนเท่าๆกัน ผู้เล่นที่มีแต้มสูงสุดหรือมีไพ่คิงจะต้องผู้เริ่มเกมก่อน ทริุคของเกมเพื่อจะเป็นผู้ชนะคือ ผู้เล่นจะต้องจดจำสัญลักษณ์และไพ่ทั้งหมดที่เล่นให้ได้ หลังจากจบเกมแต่ละคนก็จะนับแต้มบนไพ่ที่ตนเองมี ใครได้แต้มมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
ในทำนองเดียวกัน เกมที่เล่นก็จะมีรูปแบบอื่นด้วย เช่นไพ่ชุดนวเคราะห์ ชุดทศาวะตระ ชุดรามเกียรติ์ และชุดอัษฏาดิคปาละ การเล่นเกมด้วยไพ่เหล่านี้น่าสนใจมาก นอกเหนือจากการทดสอบความจำของผู้เล่น แต่ยังทำให้พวกเขามีความรู้เกี่ยวกับประเพณีฮินดูอีกด้วย
Ganijfa การคืนชีพของเกมไพ่โบราณที่ถูกลืม
แต่เดิมมันคือเกมไพ่สร้างขึ้นเพื่อการเรียนรู้เรื่องราวในตำนานจากคัมภีร์โบราณ เป็นเรื่องราวที่คัดมาจากบทมหาภารตะ รามเกียรติ์ และพระคัมภีร์อื่นๆจากศาสนาฮินดูปุรณะ
เกมนี้กำลังหายไปตามกาลเวลาแต่มีบรรพบุรุษจากสี่ตระกูลที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูมันขึ้นมา
- รวมทั้ง Narasingam และ Satyanayan จาก Nirmal
- Andhra Pradesh, Gurupad Bhat จาก Mysore
- Bijaya Kumar และ Mahopatra Raghurajpur จาก Orissa
- Mohan Shamaro Kulkarni และ Subhas Chitari Sawantwadi จาก Maharashtra
ปัจจุบันศิลปะของ Ganjifa ไม่เพียงพบได้บนไพ่ทรงกลมเท่านั้น แต่ยังพบบนภาพวาด ภาพแขวนผนัง และศิลปะเชิงการพานิชย์เพื่อใช้ในการตกแต่งบ้านเป็นหลัง ซึ่งนอกเหนือจากจินตนาการถึงเทพเจ้าในศาสนาฮินดูแล้ว จิตรกรยังวาดภาพดอกไม้ วัว และสัญลักษณ์อื่นๆของธรรมชาติอีกด้วย